วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ดนตรี

   1. ความหมายของดนตรีและคำที่เกี่ยวข้อง 1.1 ความหมายของดนตรี (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน 2542 : 394) หมายถึง เสียงที่ ประกอบกันเป็นทำนองเพลง เครื่องบรรเลงซึ่งมีเสียงดังทำให้รู้สึกเพลิดเพลินหรือเกิดอารมณ์รัก โศก หรือรื่นเริง เป็นต้น ได้ตามทำนองเพลง 1.2 ดนตรีกรรม (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน 2542 : 394) หมายถึง งานเกี่ยวกับเพลงที่ แต่งขึ้นเพื่อบรรเลงหรือขับร้องไม่ว่าจะมีทำนองและคำร้อง หรือมีทำนองอย่างเดียวและหมายความรวมถึง โน้ตเพลงหรือ แผนภูมิเพลงที่ได้แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว 1.3 ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับดนตรี นอกจากความหมายของดนตรีที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น ยังมีคำอื่นที่เกี่ยวข้องกับดนตรีที่ควรอธิบายความหมาย มีดังนี้ 1.3.1. เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้องหรือเสียงทางดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้น โดยมีส่วนสัดและ วรรคตอนตามจินตนาการของผู้ประพันธ์ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับบทกวีที่แต่งขึ้นโดยใช้ถ้อยคำ เสียง อักษร สระ และวรรณยุกต์ ตามกฎแห่งฉันทลักษณ์ เพลงหนึ่งจะมีกี่จังหวะ และ/หรือกี่ท่อนนั้นไม่มีกำหนดตายตัว แต่แบบแผนของเพลงไทยที่มีมาแต่โบราณ ท่อนหนึ่ง ๆ จะมีไม่น้อยกว่า 2 จังหวะหน้าทับ (ราชบัณฑิตสถาน 2540 : 107) เพลงสามารถจำแนกประเภทได้หลายวิธี จำแนกประเภทของเพลงตามหลักวิชาการดนตรี แบ่งได้ 4 ประเภท คือ 1) เพลงร้องที่มีเนื้อเพลงและทำนอง 2) เพลงบรรเลงแต่ทำนอง เช่น การผิวปาก หรือเสียงขลุ่ย 3) เพลงร้องที่มีดนตรีประกอบ 4) เพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี หากจำแนกเพลงตาม จังหวะอาจแบ่งได้เป็น เพลงคลาสสิก (Calssic music) เพลงแจ็ส (jazz music) เพลงบลูส์ (blue music) และเพลงริธึ่มแอนบลูส์ (rhythm & blue) หากแบ่งเพลงตามความหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิต สามารถจำแนก ประเภทได้เป็น เพลงพื้นบ้าน (Folk Music) เพลงเพื่อชีวิต เพลงลูกทุ่ง (country music) เพลงลูกกรุงหรือ เพลงป๊อป (light music or popular music) 1.3.2. วงดนตรี หมายถึง การนำเครื่องดนตรีประเภทใดๆตั้งแต่ 3 ชิ้นขึ้นไป หรือนักดนตรี ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปมาเล่นรวมกันเป็นวง วงดนตรีอาจจำแนกย่อยได้เป็น5 ประเภท คือ วงดนตรีไทยเดิม วงดนตรีไทยสากล วงดนตรีไทยลูกทุ่ง วงดนตรีไทยพื้นเมืองและวงดนตรีสากล 1.3.3. โน้ตเพลง หมายถึง เพลงหรือบทเพลงที่บันทึกด้วยวิธีเขียนหรือพิมพ์ โดยใช้สัญลักษณ์ แทนระดับเสียง และอัตราจังหวะของเสียงที่จะร้องหรือบรรเลงด้วยเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ โน้ตเพลงเป็น เสมือนบันทึกผลงานเพลงของนักประพันธ์ ซึ่งบางครั้งสะท้อนให้เห็นสภาวะของสังคมและวัฒนธรรมในช่วง เวลาหนึ่ง โดยทั่วไปโน้ตเพลงมีการบันทึกได้ 2 รูปแบบ คือ แบบโทนิกซอลฟา และแบบสตาฟโนเตชั่น ซึ่งแต่ ละแบบจะมีลักษณะ ดังนี้ 1.3.3.1 แบบโทนิกซอลฟา (Tonic Sol Fa) เป็นโน้ตเพลงที่บันทึกโดยใช้สัญลักษณ์ ตัวเลข หรือตัวอักษรแทนเสียงดนตรี โน้ตเพลงแบบตัวเลข มีหลักพื้นฐาน คือ เลขน้อยแทนความหมายเสียงต่ำ เลขมากแทนความหมายเสียงสูง โดยทั่วไปใช้ตัวเลข 9 ตัว คือ 1 ถึง 9
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น