วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2561

สังคม

 
 กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

ประเทศไทยได้มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคหลายฉบับ ที่สำคัญ ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 
พระราชบัญญัติอาหาร 2522 
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2530 
โดยมีรายละเอียดอย่างย่อๆดังนี้

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีสาระสำคัญที่สรุปได้ดังนี้
1. กำหนดสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้บริโภคจะได้รับ โดยกฎหมายกำหนดไว้ ๕ ประการคือ 
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ 
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

2. การก่อตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี 
อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคือ 
- พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย เนื่องมาจากการกระทำของ     ผู้ประกอบธุรกิจ
- ดำเนินการเกี่ยวกับสินค้าที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภค และข่าวสารเกี่ยวกับการบริโภคที่ผู้บริโภคควร     ทราบ

3. การกำหนดมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภค มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ที่สำคัญได้แก่
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านการโฆษณา
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา



พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522


กำหนดสาระสำคัญ ดังนี้
1. กำหนดให้มีการประกาศให้อาหารใดเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ
2. ให้มีคณะกรรมการ คือคณะกรรมการอาหารและยา ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาในกรณีต่างๆ เพื่อควบคุม           คุณภาพของอาหาร
3. กำหนดให้มีการขออนุญาตเพื่อผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายอาหาร
4. กำหนดลักษณะของอาหารลักษณะต่างๆ ที่ผิดกฎหมาย หรือห้ามผลิต จำหน่าย หรือนำเข้าเพื่อ                จำหน่าย ได้แก่
    1. อาหารไม่บริสุทธิ์
    2. อาหารปลอม
    3. อาหารผิดมาตรฐาน


พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530


เนื้อหาสาระที่สำคัญของพระราชบัญญัติยา ได้ กำหนดประเภทของยาไว้หลายประเภทด้วยกันเพื่อสะดวกในการควบคุม และกำหนดให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการยาการควบคุมพรบ.ยากำหนดให้มีการควบคุมการผลิต และการขายยาโดยเภสัชกรและผู้ประกอบโรคศิลป แล้วแต่ประเภทของยา

พระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2530 ได้แบ่งยาออกเป็น 9 ประเภท คือ
1. ยาแผนปัจจุบัน
2. ยาแผนโบราณ
3. ยาสามัญประจำบ้าน
4. ยาอันตราย
5. ยาควบคุมพิเศษ
6. ยาบรรจุเสร็จ
7. ยาสมุนไพร
8. ยาใช้ภายนอก
9. ยาใช้เฉพาะที่


หน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค


1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทำหน้าที่ตรวจสอบและคุมภาพของอาหารและยา เช่น อาหารกระป๋อง
เครื่องสำอางและยา

2. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีหน้าที่ให้การคุ้มครองผู้บริโภค เช่น พิจารณาเรื่องราวร้องทุกข์ ของผู้บริโภค
ที่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ ควบคุมการโฆษณาสินค้า ที่เป็นเท็จ หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค

3. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
ภาชนะและเครื่องมือในครัวเรือน

1. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยตรง คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการดังนี้

- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า
หรือบริการ
- สิทธิที่จะได้อิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
- สิทธิที่จะได้การพิจารณาและชดเชยความเสียหาย

หลักทั่วไปของการบังคับใช้กฎหมาย คือ เมื่อมีกฎหมายฉบับใดให้อำนาจในการคุ้มครองผู้บริโภคไว้เป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องบังคับตามกฎหมายฉบับนั้น ตัวอย่างเช่น กรณีที่ผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิเกี่ยวกับเรื่องอาหาร ผู้บริโภคสามารถไปร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเฉพาะเรื่องสินค้าอาหารเท่านั้น แต่ถ้ากรณีไม่มีกฎหมายใด หรือหน่วยงานใดให้ความคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการเฉพาะแล้วก็ต้องใช้ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งให้ความคุ้มครองในผู้บริโภคด้านสินค้าและบริการทั่วไป

2. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค โดยการเข้าไปควบคุมตรวจสอบ และกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจที่ผลิตสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมและได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

2.1 กฎหมายคุ้มครองเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงสาธารณสุข

- พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงอุตสาหกรรม

- พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
- พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

2.2 กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมในการใช้สินค้าและการรับบริการ เช่น
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงพาณิชย์

- พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคโดยกระทรวงยุติธรรม

- พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540

เมื่อผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้ประกอบธุรกิจเนื่องจากการใช้สินค้าหรือบริการ ผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายโดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายฉบับเดียวที่มีอำนาจในการดำเนินคดีแทนผู้บริโภค เพื่อฟ้องเรียกทรัพย์สินหรือค่าเสียหายให้แก่ผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิจากการใช้สินค้าและการรับบริการ โดยผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการดำเนินคดีแต่อย่างใด

กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กฏหมายคุ้มครองผู้บริโภคเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของคนในสังคม โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าและการใช้บริการ เช่น มนุษย์ต้องบริโภคอาหาร เครื่องดื่ม ต้องใช้บริการรถประจำทาง รถไฟฟ้า รวมทั้งบริการอื่น ๆเพื่ออำนวยความสะดวก เช่น การใช้บัตรเครดิต โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ดังนั้นการบริโภคหรือการใช้บริการต่าง ๆจะต้องได้มาตรฐานและมีคุณภาพครบถ้วนตามที่ผู้ผลิตได้โฆษณาแนะนำไว้ ด้วยเหตุนี้ รัฐในฐานะผู้คุ้มครองดูแลประชาชน หากพบว่าประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการบริโภคสินค้าและบริการจะต้องรีบ เข้าไปแก้ไขเยียวยาและชดเชยความเสียหายให้กับประชาชน

หน่วยงานที่คุ้มครองผู้บริโภคมีอยู่หลากหลายและกระจายตามประเภทของการบริโภคสินค้าและบริการ เช่น
1. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับอาหาร ยา หรือเครื่องสำอาง เป็นหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณาสุข ที่ต้องเข้ามาดูแล
2. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมก็เป็นหน้าที่ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องเข้ามาดูแล
3. กรณัที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับเจ้าของธุรกิจจัดสรรที่ดิน อาคารชุด เป็นหน้าที่ของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทยเข้ามาดูแล
4. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับคุณภาพหรือราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นหน้าที่ของกรมการค้าภายใน กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล


5. กรณีที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อนเกี่ยวกับการประกันภัยหรือประกันชีวิต เป็นหน้าที่ของกรมการประกันภัย กระทรวงพานิชย์ ที่ต้องเข้ามาดูแล



สำหรับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 จัดเป็นกฎหมายเฉพาะที่ที่ไม่ซับซ้อนหรือขัดกับอำนาจหน้าที่ของหนาวยงานที่คุ้ทครองผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามตัวอย่างข้างต้น เพระาหากเกิดกรณีจำเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบมิได้ดำเนินการแก้ไขหรือดำเนินการไม่ครบถ้วนตามขั้นตอนของกฎหมาย ผู้เดือดร้อนสามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้สั่งการแก้ไขแทนได้ เพราะสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหน่วนงานคุ้มครองด้านการบริโภคสินค้าและบริการทั่วไป นอกเหนือจากการทำงานของหน่วยงานอื่น ๆ

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ได้บัญญัติสิทธิของผู้บรริโภคได้ 5 ประการคือ
1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ เพื่อการพิจารณาเลือกซื้อสินค้่หรือรับบริการอย่างถูกต้อง ทำให้ไม่หลงผิดในคุณภาพสินค้าและบริการ
2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกสินค้าและบริการดดยปราศจากการชักจูงก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า
3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีที่ใช้ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
4) สิทธิที่จะได้รับการพิพจารณาและชดเชยความเสียหาย อันหมายถึง สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง และชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิผู้บริโภค

นอกจากนี้ ผู้บริโภคจะต้องปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริโภค โดยไม่ขัดต่อกฎหมาย ในที่นี้จะขอหล่าวถึงหน้าที่ของผู้บริโภคที่ควรปฏิบัติ คือ
1) ผู้บริโภคต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรในการซื้อสินค้าหรือรับบรริการ เช่น ตรวจสอบฉลากแสดงราคาและปริมาณ ไม่หลงเชื่อในคำโฆษณาคุณภาพสินค้า
2) การเข้าทำสัญญาผูกมัดการตามกฎหมาย โดยการลงมือชื่อ ต้องตรวจสอบความชัดเจนของภาษาที่ใช้ตามสัญญาให้เข้าใจรัดกุม หรือควรปรึกษาผู้รู้ทางกฏหมายหากไม่เข้าใจ
3) ข้อตกลงต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีผลบังคับใช้ ควรทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้ประกอบธุรกิจด้วย
4) ผู้บริโภคมีหน้าที่เก็บหลักฐานไว้ เพื่อประโยชน์ในการเรียกร้องค่าเสียหาย
5) เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรดำเนินการเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือต่อคณะกรรมการคุ้มครอวผู้บรืโภค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น